สูตรคำนวณหามูลค่าเงินตามเวลาในอนาคต ด้วยฟังก์ชั่น FV

ใน Microsoft Excel มีความสามารถในการคำนวณด้านการเงิน (Finance Functions) มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ PV, PMT, IRR, FV, NPER, NPV เป็นต้น ซึ่งบทความในวันนี้จะแนะนำสูตรสำหรับการหามูลค่าเงินในอนาคต หรือ Future Value (FV) กันครับ
สูตรคำนวณหามูลค่าเงินตามเวลาในอนาคต ด้วยฟังก์ชั่น FV
ทักษะ (ระบุได้หลายทักษะ)

สูตรคำนวณหามูลค่าเงินตามเวลาในอนาคต ด้วยฟังก์ชั่น FV

ใน Microsoft Excel มีความสามารถในการคำนวณด้านการเงิน (Finance Functions) มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ PV, PMT, IRR, FV, NPER, NPV เป็นต้น ซึ่งบทความในวันนี้จะแนะนำสูตรสำหรับการหามูลค่าเงินในอนาคต หรือ Future Value (FV) กันครับ
 
มูลค่าเงินในอนาคต (Future Value ย่อว่า FV)  คือ มูลค่าของเงินที่ได้รับ ณ วันครบกำหนดในอนาคต ว่าเงินที่เราลงทุน หรือ ฝากไป จะมีมูลค่าเท่าใดในอนาคต ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ จำนวนเงินในตอนเริ่มต้น ,อัตราผลตอบแทน (หรืออัตราดอกเบี้ย) และระยะเวลาที่เกี่ยวข้องสูตรในการคำนวณมูลค่าอนาคต 
สำหรับใน Excel  มี ฟังก์ชั่น เพื่อคำนวณมูลค่าของเงินในอนาคต หรือ ฟังก์ชั่น FV
เป็นหนึ่งในฟังก์ชันทางการเงินที่จะช่วยให้เราคำนวณหามูลค่าในอนาคตได้อย่างง่าย
ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน FV มีอาร์กิวเมนต์ดังนี้
 
ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน FV
  1. Rate (ต้องระบุ) คือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี  เช่น  0.5 %  ต่อปี  (อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์สำหรับบุคคลธรรมดา)
  2. Nper (ต้องระบุ) คือ จำนวนการออมกี่งวด (Number of Periods) เช่น  10 ปี
  3. PMT (ต้องระบุ) คือ ยอดเงินออมในแต่ละปี  เช่น  ต้องการออมปีละ 10000 บาท เป็นเวลา 10 ปี
    • หมายเหตุ ในการระบุตัวเลขลงในฟังก์ชั่น จะต้อง ใส่เครื่องหมายลบ (-) ไว้หน้าตัวเลขด้วย เป็นการบ่งบอกถึงการนำเงินออกไปออม เช่น -10000 เป็นต้น
  4. PV คือ เงินออมเริ่มต้นครั้งแรก ครั้งเดียว  หมายเหตุในการกรอกตัวเลขลงใน ฟังก์ชั่น จะต้อง ใส่เครื่องหมายลบ (-) ไว้ หน้าตัวเลขด้วย  ถ้าในกรณีไม่มีเงินออมเริ่มต้น ให้ใส่เลข 0
  5. Type ให้กำหนด เป็นเลข 1 หากเป็นการจ่ายตอนต้นงวด หรือ ใส่ 0 เมื่อกำหนดว่าจ่ายตอนสิ้นงวด


 

ฟังก์ชั่น FV สำหรับการคำนวณหามูลค่าเงิยในอนาคต
สำหรับสูตร FV  นี้เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่มีเป้าหมายในการออมเงิน เพื่อที่จะใช้เงินในอนาคต โดยมีปัจจัยประกอบไปด้วย 1.ปัจจัยปัจจัยภายใน ที่เราควบคุมได้ คือ  จำนวนปีในการออม (Nper)  , เงินออมคงที่ในแต่ละปี (PMT)
2.ปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ คือ  อัตราดอกเบี้ยรับในแต่ละปี  (Rate)
ในที่นี้ผู้เขียนใช้ Rate 0.05%  (อัตราดอกเบี้ยรับเงินฝากออมทรัพย์)   ผู้อ่านสามารถออมเงินใน  เครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ได้ เช่น กองทุน, หุ้น เป็นต้น  ซึ่งอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินก็จะแตกต่างกันไป
 
ที่มา
1.อัตราดอกเบี้ยงานฝากประเภทต่างๆ เข้าถึงได้จาก